ข้ามไปเนื้อหา

พาราลิมปิกฤดูร้อน 2008

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 13
สัญลักษณ์การแข่งขันกีฬาพาราลืมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 13
เมืองเจ้าภาพปักกิ่ง, สาธารณรัฐประชาชนจีน
คำขวัญ同一个世界,同一个梦想
(One World, One Dream)
สัญลักษณ์: Sky, Earth, and Human Beings
ประเทศเข้าร่วม148 ประเทศ
นักกีฬาเข้าร่วม3,985
กีฬา20 ชนิด
พิธีเปิด6 กันยายน พ.ศ. 2551
พิธีปิด17 กันยายน พ.ศ. 2551
ประธานพิธีหู จิ่นเทา
ผู้จุดคบเพลิงโฮว บิน
สนามกีฬาหลักสนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง

พาราลิมปิกฤดูร้อน 2008 (จีน: 第十三屆残疾人奥林匹克运动会, อังกฤษ: XIII Paralympic Games) เป็นการจัดการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกครั้งที่ 13 ที่เมืองปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นเจ้าภาพ เริ่มตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน ถึง 17 กันยายน พ.ศ. 2551 และ หู จิ่นเทา เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขัน

เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2548 คณะกรรมการโอลิมปิกสากลประกาศคำขวัญของโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 คือ "One World, One Dream" (จีน: 同一个世界 同一个梦想; 同一個世界 同一個夢想) ซึ่งใช้คำขวัญนี้ในการแข่งขันพาราลิมปิกครั้งที่ 13 อีกด้วย

การแข่งขันครั้งนี้มีนักกีฬาจากทุกทวีปเข้าร่วมการแข่งขันรวมแล้ว 3,985 คน จาก 148 ประเทศ ซึ่งจะเป็นการแข่งขันพาราลิมปิกที่มีนักกีฬาเข้าร่วมมากที่สุด

สัญลักษณ์การแข่งขัน

[แก้]

สัญลักษณ์

[แก้]

"Sky, Earth, and Human Beings" (天、地、人) เป็นสัญลักษณ์ของการแข่งขันพาราลิมปิกฤดูร้อน 2008 ซึ่งมีการออกแบบหลากหลายสี "之" (พินอิน: zhī) ทันสมัยเหมือนกับนักกีฬาที่มีร่างกายที่แข็งแรงเคลื่อนไหว สีแดง, สีน้ำเงิน, และสีเขียวในสัญลักษณ์แทน ดวงอาทิตย์, ท้องฟ้า, และโลก

สโลแกน

[แก้]

"One World One Dream" เป็นสโลแกนในการแข่งขันพาราลิมปิกฤดูร้อน 2008 ซึ่งเป็นสโลแกนเดียวกับการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ด้วย

ฝูหนิวเล่อเล่อ

มาสคอต

[แก้]

มาสคอตของพาราลิมปิกฤดูร้อน 2008 เป็นตัวการ์ตูนรูปวัวชื่อ "ฝูหนิวเล่อเล่อ" (福牛乐乐) ความหมายคร่าวๆหมายถึง "โชคดี" ส่วนวัวหมายถึง "ความสุข"

เพลงประจำการแข่งขัน

[แก้]

เพลงประจำการแข่งขันพาราลิมปิกฤดูร้อน 2008 คือ เพลง 'Flying with the Dream' ขับร้องโดย หลิว เต๋อหัว นักร้องชาวจีนกวางตุ้งที่รู้จักกันดี

การวิ่งคบเพลิง

[แก้]

การวิ่งคบเพลิงในพาราลิมปิกฤดูร้อน 2008 เริ่มต้นจากที่ หอสักการะฟ้าเทียนถัน ในวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551 และจะกลับสู่ กรุงปักกิ่ง ในวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2551 และจะจุดคบเพลิงที่ สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง ช่วงเปิดพิธีในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2551

การแข่งขัน

[แก้]

พิธีเปิด

[แก้]

พิธีเปิดจัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2551

พิธีปิด

[แก้]

พิธีปิดจัดขึ้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2551

ชนิดกีฬาที่แข่งขัน

[แก้]

ประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน

[แก้]

สรุปเหรียญ

[แก้]
      จีน (เจ้าภาพ)
      ไทย
อันดับที่ ประเทศ ทอง เงิน ทองแดง รวม
1 จีน 89 70 52 211
2 สหราชอาณาจักรสหราชอาณาจักร 42 29 31 102
3 สหรัฐอเมริกาสหรัฐอเมริกา 36 35 28 99
4 ยูเครนยูเครน 24 18 32 74
5 ออสเตรเลียออสเตรเลีย 23 29 27 79
6 แอฟริกาใต้สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ 21 3 6 30
7 แคนาดาแคนาดา 19 10 21 50
8 รัสเซียสหพันธรัฐรัสเซีย 18 22 23 63
9 บราซิลบราซิล 16 14 17 47
10 สเปนสเปน 15 21 22 58
41 ไทย 1 5 7 13

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]